บทความทั้งหมด

ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของ ประชากรโลกเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้

ขั้นตอนการขับโฟล์คลิฟท์ อย่างปลอดภัยและถูกวิธี โฟล์คลิฟท์หรือรถยก คือ เครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ช่วยทุ่นแรงในการเคลื่อนย้ายสินค้าต่างๆ สามารถใช้ได้ในธุรกิจหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง โรงงานผลิตต่างๆ ตลอดจนธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ ร่างกาย : ใส่ชุดทำงาน/แบบฟอร์มพร้อมอุปกรณ์ป้องกันให้เรียบร้อย จิตใจ : ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว วิตกกังวล หรือไม่มีสมาธิ ขั้นตอนที่ 2 การขึ้นรถยกด้วยท่าถูกต้อง 1 ขึ้นด้านซ้ายของตัวรถเสมอ 2 มือซ้ายจับหูจับ 3 มือขวาจับหลังคาด้านหลัง 4 เท้าซ้ายเหยียบบันได 5 จากนั้นยกตัวขึ้นไปนั่งรถ 6 คาดเข็มขัดนิรภัย ขั้นตอนที่ 3 ตัก ยก เคลื่อนสินค้า อย่างปลอดภัย ก่อนยกพาเลท ต้องมั่นใจว่าพาเลทแข็งแรง สินค้าถูกจัดอย่างสมดุล ต้องเสียบงาให้สินค้าชิดกับแผงงามากที่สุด ให้งาอยู่กึ่งพาเลท ขั้นตอนที่ 4 วางสินค้าอย่างปลอดภัย ปรับเสาให้ตรงตั้งฉากกับพื้นปรับระดับงาให้อยู่ในตำแหน่งที่จะวางได้เลื่อนรถเข้าหาตำแหน่งที่จะวางอย่าง ระมัดระวัง และลดงาลงจนวัสดุถูกวางอยู่ตำแหน่งที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 5 ระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อถึงทางแยกมุมอับและประตู เมื่อถึงทางแยก มุมอับ และประตูทางเข้าออก ต้องชะลอความเร็ว - หยุดรถกดแตร - มองหน้า/ซ้าย/ขวา เมื่อปลอดภัยแล้วจึงเคลื่นย้าย

การทำงานบนที่สูง (Working at height) หมายถึง การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดิน หรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งอันตรายที่พบบ่อยที่สุดจากอุบัติเหตุของการทำงานบนที่สูง คือ การพลัดตกจากที่สูง อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการบาดเจ็บ กลายเป็นผู้พิการ หรือถึงขั้น เสียชีวิตได้ ผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องมีทักษะต่างๆเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงเป็นอย่างดี เช่น การเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองภัยส่วนบุคคล (PPE) อุปกรณ์ป้องกันการตก (Fall) เทคนิคที่สำคัญ วิธีการขั้นตอนทำงานบนที่สูง รวมไปถึงการจัดทำแผนฉุกเฉินในการทำงานบนที่สูง การกู้ภัยบนที่สูง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความปลอดภัยปราศจากอุบัติเหตุ (Accident) ตลอดการปฏิบัติงานบนที่สูง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้